ที่มาหรือหลักการของเสียงกีตาร์

คงจะเคยเล่นดีดหนังยางกันมา บ้างนะครับ เพื่อน ๆ เคยสังเกตไหมครับเวลาเราดึงหนังยางให้ยืดออก แล้วถ้าเอามือไปดีดหนังยางจะสั่นและเกิดเสียง(แต่เบามาก) หรือแม้แต่เส้นด้ายหรือเชือกที่ถูกยึดปลายดึงจนตึงเมื่อถูกดีดก็จะสามารถ เกิดเสียงได้เช่นกัน ทั้งหมดนั้นอาศัยหลักการของการเปลี่ยนแปลงพลังงานตามหลักวิทยาศาสตร์นั่นเอง คือเมื่อวัตถุเกิดการสั่นด้วยความถี่ค่าหนึ่ง ความถี่นั้นก็จะกลายเป็นคลื่นเสียงได้ ที่กล่าวมาเป็นหลักคร่าว ๆ แค่พอรู้ครับ

สำหรับกีตาร์ก็คือการนำสายลวดซึ่งมีขนาดแตกต่างกันมาขึงยึดหัวท้ายไว้ ด้วยความตึงต่าง ๆ กัน ซึ่งความตึง, ขนาดที่ต่างกัน รวมถึงความสั้น-ยาวของสายกีต้าร์นั่นเองจะมีผลต่อระดับเสียงที่เกิดขึ้นได้แก่

- สายที่ตึงกว่าจะให้เสียงที่มีระดับสูงกว่าสายที่หย่อนกว่า

- สายที่มีขนาดใหญ่กว่าจะให้เสียงที่มีระดับต่ำหรือทุ้มกว่าสายที่มีขนาดเล็กกว่า

- สายที่สั้นกว่าจะมีระดับเสียงที่สูงกว่าสายที่ยาวกว่า

ทั้ง 3 ข้อนั้นเป็นหลักเบื้องต้นในการทำงานของกีตาร์นั่นเอง ดังนั้นกีตาร์มีสาย 6 ขนาด จะให้ระดับเสียงต่างกัน 6 เสียง และมีเฟร็ตกีตาร์ตั้งแต่ประมาณ 20-24 อัน ซึ่งเป็นการจำกัดความสั้นยาวของสายกีตาร์ (เมื่อกดที่เฟร็ตสายจะถูกจำกัดความยาวเหลือจากเฟร็ตที่กด ไปถึง สะพานสาย เช่นเมื่อคุณกดช่อง 12 ของสายใดก็ได้ก็คือคุณได้ทำให้สายนั้นเหลือความยาวเพียงครึ่งเดียวเนื่อง จากระยะระหว่างนัทจนถึงเฟร็ต 12 และระยะจาก เฟร็ต 12 ถึง สะพานสายนั้นมีระยะเท่ากัน จากผลดังกล่าวเมื่อคุณกดช่อง 12จะทำให้ได้เสียงกีตาร์สูงขึ้น 1 เท่า ของสายที่ไม่ได้กดช่อง 12 หรือทางดนตรีเรียกว่า 1 octave) ก็จะได้ความแตกต่างของเสียงในแต่ละเส้นอีก 20 - 24 เสียง ดังนั้นบนคอกีตาร์จะมีเสียงทั้งหมด 120 - 144 เสียง ไม่รวมเสียง ฮาร์โมนิคหรือเทคนิคอื่น ๆ ซึ่งก็เพียงพอที่จะใหเคุณสร้างสรรค์ดนตรีได้ไม่มีสิ้นสุด

สำหรับความตึงหย่อนนั้นอาจเห็นเป็นรูปธรรมได้เช่นการดันสาย การตั้งสายเปิดแบบต่าง ๆ รวมถึงการเล่นคันโยก ล้วนแต่อาศัยความตึงหรือหย่อนของสายกีตาร์เพื่อสร้างเสียงระดับต่าง ๆ

str-vb.gif (6854 bytes)

**** สรุป หลักการของกีตาร์คือการสั่นของสายที่ทำให้เกิดเสียง และความแตกต่างของเสียงอันเนื่องมาจากขนาด ความสั้นยาว และความตึงของสายนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

ใครติดตามบ้าง